1500 จำนวนผู้เข้าชม |
ตอน 2 (จบ)
การสูงวัย: การเดินทางแห่งความเชื่อที่ยิ่งใหญ่
มุมมองใหม่ต่อ การสูงวัย ผ่านเลนส์ด้านวรรณกรรมและศาสนศาสตร์
(Maxine Hancock, “Aging as a Stage of the Heroic Pilgrimage of Faith: Some Literary and Theological Lenses for ‘Revisioning’ Age” Crux: A Quarterly Journal of Christian Thoughts and Opinion published by Regent College, Spring 2011.)
Dr. Maxine Hancock
อาจารย์ด้านสหวิทยาการ (Interdisciplinary Studies) และ ศาสนศาตร์ด้านเสริมสร้างจิตวิญญาณ (Spiritual Theology), วิทยาลัยรีเจนต์, ประเทศแคนาดา
ผู้แปล: ดร. เพ็ชรรัตน์ จันทร์แสนวิไล
งานของ Brooks แนะว่า ให้มอบตำแหน่งแห่งเกียรติภายในคริสตจักรแก่ผู้สูงวัยที่มีประสบการณ์ยาวนานในสัมพันธภาพกับพระเจ้า และ ได้สั่งสมประสบการณ์ด้านจิตวิญญาณอย่างอุดมสมบูรณ์ ในขณะที่ Baxter ให้ “ข้อชี้แนะ” Brooks ให้ “ลักษณะ” ของภาพลักษณ์คร่าว ๆ ของคริสเตียนในช่วงสูงวัย
การมองผู้สูงวัยแวบหนึ่งแบบนี้ และทัศนคติต่อผู้สูงวัย ในแวดวงผู้เชื่อที่ไม่ปฏิบัติตามศาสนจักร ซึ่ง Brooks และ Baxter กับ John Bunyan (1628 – 1688) เลี้ยงดูนั้น มีให้เห็นได้เด่นชัดขึ้นอย่างเต็มที่ในการเปรียบเทียบคริสตจักรที่สำคัญของ Bunyan ใน The Pilgrim’s Progress: The Second Part (1684) ในขณะที่ ตอนแรกซึ่งเป็นที่รู้จักดีกว่าของหนังสือ”ปริศนาธรรม” (The Pilgrim’s Progress) นั้นเขียนจากมุมมองของคริสเตียนวัยหนุ่มสาว ตอนที่สองมีร่องรอยที่ประทับอยู่ ของผู้เขียน ซึ่งเป็นศิษยาภิบาลที่เคร่งครัดและมีประสบการณ์ ผู้ได้เห็นคริสตจักรโดยรวมตลอดหลายชั่วอายุ ในการแสวงหาด้านชุมชน ในขณะที่ จุดจบของตอนแรก คริสเตียนผู้แสวงหานั้น เป็นผู้คนที่กำลังจะตายในวัยฉกรรจ์ นัยที่ชัดเจนของความสูงวัยอยู่ในตอนที่สอง ซึ่งมีบทสรุปอยู่ที่กลุ่มผู้แสวงหาที่สูงวัยได้รับการทรงเรียก ทีละคน ให้ข้ามแม่น้ำแห่งความตายไป ในฐานะที่เป็นผู้ที่คนที่มาส่งนั้นรักและยกย่องอย่างเห็นได้ชัดเจน
ผู้สูงวัยเหล่านี้มีลักษณะที่เป็นปัจเจกบุคคลอย่างมาก แต่ละคนเป็นที่รู้จักตามชื่อซึ่งแทนคุณงามความดี หรือ ลักษณะ ที่เด่นชัด พร้อมทั้งเรื่องราวของการทรงเรียกและเส้นทางการเชื่อฟังของแต่ละบุคคล เป็นต้นว่า คุณจิตใจยิ่งใหญ่ คุณองอาจเพื่อความจริง คุณซื่อสัตย์ และคุณยืนหยัด แทนคริสเตียนที่มาถึงความสูงวัยด้วยความเป็นผู้ใหญ่ฝ่ายจิตวิญญาณ โดยได้ฝึกความเป็นผู้นำในแวดวงผู้เชื่อ คุณพร้อมที่จะหยุด และคุณท้อแท้ แทนสมาชิกที่อ่อนแอกว่าในแวดวงผู้เชื่อ ในขณะที่มีความแตกต่างด้านสมรรถภาพฝ่ายจิตใจและจิตวิญญาณตลอดการเดินทาง “สาวกเก่าแก่” แต่ละคนได้รับการทนุถนอม และคุณค่าภายในชุมชนที่มีผู้คนต่างวัย ในขณะที่ผู้สูงวัยอยู่ใน “ความคาดหวังอย่างกระตือรือร้นของการเปลี่ยนแปลง” (ตามวลีที่ Baxter ใช้) พวกเขาก็อยู่ในชุมชนที่มีผู้คนต่างวัย ซึ่งเปี่ยมด้วยความรักและการหนุนใจด้วย Beulah Land ไม่เพียงแต่เป็นดินแดนของประสบการณ์ที่คริสเตียนแต่ละคนที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว จะมีในการติดสนิทกับพระคริสต์ แต่ยังเป็นภาพของเมืองที่กำลังมีประสบการณ์แห่งความสงบ แบบเดียวกับนิมิตที่ผู้พยากรณ์ เศคาริยาห์ (8: 3 – 5) มี ที่ ๆ ผู้สูงวัย และ ผู้เยาว์วัย อวยพรซึ่งกันและกัน:
ในสถานที่นี้ (นั่นคือ ดินแดนแห่ง Beulah) เด็ก ๆ ของเมืองจะเข้าไปในสวนแห่งราชา และเก็บดอกหอมหวน แล้วนำไปให้ผู้แสวงหาด้วยความรักยิ่ง ห้องโถงของผู้แสวงหาจึงหอมอบอวลในขณะที่พวกเขาอยู่ที่นั่น และร่างกายของเขาก็ได้รับการเจิมเพื่อเตรียมข้ามฟากแม่น้ำไปเมื่อเวลานั้นมาถึง
โดยไม่คำนึงถึงความจำกัดด้านจิตใจ หรือ จิตวิญญาณ ผู้แสวงหาแต่ละคนจะได้รับการทรงเรียกด้วยความรัก และรับตัวไปโดยผู้ส่งข่าวของพระราชา ตัวอย่างเช่น คุณจิตใจอ่อนแอ ถูกตามตัวไปดังต่อไปนี้
“ไปรษณีย์” เป่าแตรที่ประตูห้องโถง แล้วจึงเข้ามาและบอกเขาว่า “ข้าพเจ้ามาเพื่อบอกท่านว่า องค์เจ้านาย ต้องการท่าน และในเวลาชั่วเดี๋ยวเดียว ท่านจะได้พบพระพักตร์ที่แจ่มใสของพระองค์”
แล้วคุณจิตใจอ่อนแอก็ตามเพื่อน ๆ มาและบอกพวกเขาว่าเขาได้รับมอบหมายให้ไปทำอะไร แล้วพูดว่า “เพราะว่าข้าพเจ้าไม่มีอะไรจะยกเป็นมรดกให้ใครทั้งนั้น จึงไม่รู้ว่าจะทำพินัยกรรมไปทำไม สำหรับจิตใจอ่อนแอของข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าจะทิ้งไว้เพราะว่า ข้าพเจ้าไม่จำเป็นต้องใช้ในสถานที่ ซึ่งข้าพเจ้าจะไป และก็ไม่คุ้มค่าที่จะมอบให้ผู้แสวงหาที่ยากจนที่สุดด้วย......” แล้ววันนั้นก็มาถึง วันที่เขาต้องจากไป เขาก้าวเข้าไปในแม่น้ำ..... คำพูดสุดท้ายของเขาคือ ให้ยึดมั่นในความเชื่อและความอดทน แล้วเขาก็ข้ามไปอีกฟากหนึ่ง
มีภาพของกลุ่ม “สาวกเก่าแก่” กำลัง “สนทนาฝ่ายจิตวิญญาณ” เกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้ผ่านพ้นมา สิ่งที่เขายังต้องเผชิญต่อไป และรางวัลกับการพักผ่อนที่พวกเขารอคอย
แต่หูของเขานั้นช่างเต็มเปี่ยมด้วยเสียงแห่งสวรรค์สถาน และนิมิตด้านฟ้าสวรรค์ทำให้ตาของเขาลุกวาวด้วยความยินดี
ในสถานที่นี้ มีบันทึกเก็บไว้เกี่ยวกับชื่อของผู้แสวงหาที่สูงวัย และประวัติของเรื่องราวที่มีชื่อเสียงที่พวกเขาทำไว้ ที่นี่เช่นกันที่มีการกล่าวถึงมากมายเกี่ยวกับ การที่น้ำในแม่น้ำนั้นเพิ่มและลดระดับในขณะที่ผู้คนข้ามไป บางคนก็ประสบกับความแห้งผาก แต่บางคนก็พบกับน้ำล้นฝั่ง
ในบริบทของการหนุนใจซึ่งกันและกันในระดับนี้ และการใคร่ครวญถึงทั้งการจัดเตรียมของพระเจ้าในอดีตและสง่าราศีที่จะมาถึง “คำเชื้อเชิญ” หรือ การตามตัวให้กลับบ้าน ได้รับการตอบรับอย่างกระตือรือร้น และอาจถึงขั้นเฉลิมฉลองด้วยกันเลยทีเดียว แต่ละคนได้ทิ้งตำนานฝ่ายจิตวิญญาณเป็นพระพรสำหรับผู้ที่อยู่ข้างหลัง (ตัวอย่างเช่น คุณพร้อมที่จะหยุด “ปรารถนาให้ คุณองอาจเพื่อความจริง ทำพินัยกรรมให้เขา และเพราะว่าเขาไม่มีอะไรที่จะยกให้เป็นมรดก เขาจึงทิ้งไว้แต่ไม้ยันรักแร้ และความปรารถนาดี ดังนั้น เขาจึงกล่าวว่า ไม้ยันรักแร้เหล่านี้ ขอยกให้เป็นมรดกของลูกชายซึ่งจะเดินตามรอยเท้าของข้าพเจ้า พร้อมด้วยความปรารถนาดีอันอบอุ่นเป็นร้อยข้อที่เขาจะพิสูจน์ตัวเองให้ดีกว่าที่ข้าพเจ้าได้ทำไป พวกเขาเดินเป็นเพื่อนซึ่งกันและกันไปที่ริมฝั่งแม่น้ำ ในการตายของคุณจิตใจยิ่งใหญ่ “หนทางเต็มไปด้วยผู้คนที่มาส่ง” ความกลัวที่จะถูกโดดเดี่ยว หรือ อยู่ตามลำพังในความตาย นั้นมีน้อยกว่ามากอย่างเห็นได้ชัดในผู้คนที่ฝังตัวอยู่ในชุมชนอย่างเหลือหลาย
ภาพด้านการเปรียบเทียบของผู้สูงวัยที่ใกล้ชิดกับพระเจ้าที่มีความสนิทสนมด้วยความชื่นชมยินดีกับองค์พระผู้เป็นเจ้า ในชุมชนที่มีผู้คนต่างวัย และมีผู้คนรายล้อมเป็นเพื่อนซึ่งกันและกัน ย่อมแทนสิ่งที่เราปรารถนาอย่างแน่นอน บางที เราอาจถามตัวเองในฐานะชุมชนคริสเตียนว่า เราทำให้ผู้สูงวัยของเราเข้าใกล้ประสบการณ์ของดินแดน Beulah หรือความสงบ ในบริบทด้านวัฒนธรรมของเรา มากเพียงใด และเราอาจตรวจสอบเป้าหมายและทัศนคติของเราเอง เพื่อดูว่าประสบการณ์แบบคริสเตียนที่แท้จริงของผู้สูงวัย แตกต่างเพียงไรจาก การไขว่หาความสนุกสนาน หรือวัตถุสิ่งของ อย่างบ้าคลั่ง ที่วัฒนธรรมของเรามีให้เป็นรางวัล
ในภาพด้านการเปรียบเทียบของ Bunyan แบบเดียวกับวิธีการที่ไปทางด้านการวิเคราะห์มากกว่าของ Baxter และ Brooks เกี่ยวกับผู้สูงวัย ไม่มีการเน้นเรื่องการดำรงไว้ซึ่งความเยาว์วัย แต่เน้นเรื่องชุมชน สามัคคีธรรมระหว่างผู้คนต่างวัย และการถ่ายทอดความเชื่อ กับการจัดหากลุ่มเพื่อนที่เปี่ยมด้วยความรักไปยังริมฝั่งแม่น้ำแห่งความตาย
เลนส์ด้านวรรณกรรมร่วมสมัย
คำบรรยายที่ทรงอิทธิพลของ Eric Erikson เกี่ยวกับระยะการพัฒนาตามลำดับในการก่อร่างสร้างเอกลักษณ์ของมนุษย์ สรุปเป็นภาระงานด้านการพัฒนาสำหรับความสูงวัยดังนี้ “คุณธรรม” ต่อกรกับ “ความสิ้นหวัง” สำหรับความท้าทาย หรือภาระงานด้านการพัฒนานี้ Erikson เขียนไว้ว่า
[คุณธรรม] เป็นหลักประกันของอัตตาที่โน้มน้าวต่อระเบียบและความหมาย ---- การบูรณาการด้านอารมณ์อย่างสัตย์ซื่อต่อภาพลักษณ์ของอดีต และพร้อมที่จะเป็น แต่แล้วก็ละทิ้งการเป็น ผู้นำในปัจจุบัน เป็นการยอมรับวงจรชีวิตวงจรเดียวที่มีอยู่ของคน ๆ หนึ่ง และผู้คนที่มีความสำคัญขึ้นมา ว่าเป็นสิ่งที่ต้องเป็นอย่างนั้น และไม่ยอมให้มีการแทนที่กันได้ตามความจำเป็น ดังนั้น จึงหมายถึงความรักใหม่และแตกต่างของพ่อแม่ ...... และการยอมรับความจริงว่า ชีวิตของคน ๆ หนึ่ง เป็นความรับผิดชอบของคน ๆ นั้นเอง
ดังนั้น ความสูงวัยที่มีความหมาย ซึ่งอาจมาก่อนปลายทางด้านความชราภาพ ทำให้จำเป็นต้องมีมรดกตกทอดที่บูรณาการไว้ ซึ่งจะให้มุมมองที่ขาดไม่ได้ในวงจรชีวิต ในที่นี้ กำลังจะอยู่ในรูปแบบของความกังวลที่ไม่ลำเอียง แต่กระตือรือร้น กับชีวิตที่ถูกล้อมกรอบด้วยความตาย ซึ่งเราเรียกว่าปัญญา
เราจะหาตัวอย่างในวรรณกรรมร่วมสมัย ที่ร่างรูปแบบที่เปี่ยมด้วยความหมายทำนองเดียวกับที่พรรณนาไว้ โดย Baxter, Brooks, และ Bunyan ได้หรือไม่ ข้าพเจ้าขอยกบทประพันธ์สองชิ้นมาอย่างคร่าว ๆ และหนังสือรวมบทกวีที่สำคัญหนึ่งเล่ม ซึ่งเราจะพบตัวอย่างผู้สูงวัยที่พบคุณธรรมแทนความสิ้นหวัง และเป็นรูปแบบที่เราสามารถไขว่หาได้ในวัฒนธรรมของเราเอง นั่นคือ การเดินทางตามรอยของ “คริสเตียนที่ยิ่งใหญ่” ด้วยความสัตย์ซื่อจนถึงจุดจบทางโลก
เรื่อง “อีกฝากหนึ่ง” (The Other Side) ของ Mary Gordon เริ่มด้วยภรรยาวัยชรา กำลังทุบสามีวัยแปดสิบแปดปีอย่างโกรธขึ้ง “และหนักหน่วงจนลงไปกองกับพื้น” ขาเขาหัก และ “Vincent McNamara คิดว่า นั่นคือจุดจบของทุกอย่าง แต่การณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้น” ส่วนที่เหลือของบทประพันธ์ กล่าวย้อนไปถึงชีวิตของคนคู่นี้ คือ Vincent กับ Ellen ซึ่งแต่งงานกันมาเป็นเวลาหกสิบหกปี Ellen ซึ่งหยาบคายและไม่มีพระเจ้า เป็นศูนย์กลางของความสนใจ อีกด้านหนึ่งนั้น คือ Vincent ผู้ขาหัก เป็นศูนย์กลางด้านศีลธรรมของหนังสือ ในสถานการณ์ของบ้านคนชรา เขาได้รับการดูแลเป็นอย่างดีด้วยความรัก เขาอยากอยู่ตรงที่ ๆ เขาอยู่ ในห้องเงียบ ๆ มากกว่าที่จะกลับไปเผชิญหน้ากับครอบครัวที่ไม่มีความสุข และผู้หญิงที่ได้แต่ด่าทอ โกรธขึ้ง และกำลังจะตาย ที่เป็นภรรยาของเขา บทประพันธ์ฉายภาพกลับไปผ่านความทรงจำของ Vincent เพื่อให้เห็นเรื่องราวชีวิตของเขากับของ Ellen ในขณะที่เรารอการตัดสินใจอย่างเงียบ ๆ ของ Vincent ที่จะกลับบ้านไปหาภรรยา และ กลับเข้าไปในห้องของเธออีก โดยที่ได้รับการแปลงสภาพจากความรักที่อดทนของเขา และนำการสถิตอยู่ของพระคริสต์ทั้งภายในตัวเขาไปด้วยในที่สุด
ในบทประพันธ์ที่ได้รับรางวัลพูลิทเซอร์ (Pulitzer) ที่ชื่อ Gilead นั้น Marilynne Robinson กล่าวถึงนิสัยเก่าแก่ที่เคร่งครัดของการทิ้งตำนานด้านจิตวิญญาณไว้ ในบทประพันธ์นี้ John Ames ศิษยาภิบาลผู้สูงวัย ที่ตระหนักถึงความตายที่ใกล้เข้ามา ได้เขียนจดหมายยาวฉบับหนึ่ง เกี่ยวกับชีวิต ความรัก และความเชื่อแบบคริสเตียน ถึงลูกชายวัยหนุ่มของเขา ---- เฉลิมฉลองโลกและความน่ารักของโลกใบนี้ การแต่งงานและความชื่นชมยินดีของครอบครัว พระคำและพิธีกรรม โดยกล่าวอย่างชัดเจนพอ ๆ กับวรรณกรรมสมัยใหม่ใด ๆ เกี่ยวกับความหวังที่ยั่งยืนของชีวิตนิรันดร์ ในขณะที่ John Ames เผชิญกับความตายของเขาเอง เขายังคงต้องต่อสู้กับการทดลองของความอิจฉาริษยา แม้ในขณะที่ยอมทำใจด้วยทัศนคติที่เปี่ยมด้วยความหวังในการยอมจำนนต่อน้ำพระทัยของพระเจ้า
ในบรรดานักประพันธ์ศตวรรษที่ยี่สิบ T. S. Eliot โดดเด่นในการยืนกรานตรวจสอบปัญหาเรื่อง จะให้ความหมายของชีวิตได้อย่างไรเมื่อเผชิญหน้ากับความตาย บทกวีแรก ๆ ที่ชื่อ “Gerontion” กล่าวถึงคนแก่คนหนึ่งที่ไม่มีใครอยากเป็น คนแก่ที่ไม่มีทั้งความทรงจำที่เป็นประโยชน์และมีความหมายที่จะระลึกถึง (“นี่แหละตัวฉัน คนแก่ในเดือนที่แห้งแล้ง .... มีเด็กผู้ชายมาอ่านหนังสือให้ฟัง เพื่อรอให้ฝนตก ฉันไม่ได้อยู่ที่ประตูอันรุ่มร้อน ..... ไม่ได้ต่อสู้อยู่ท่ามกลางสายฝนที่อบอุ่น......” หรือความหวังสำหรับอนาคต (ฉันเป็นชายแก่คนหนึ่ง ...... คนหัวทึบท่ามกลางที่ว่างอันวุ่นวาย” เขากล่าวในตอนจบของท่อนแรก และจบบทกวีว่า “ชายแก่คนหนึ่ง ที่ถูกผลักไสให้เข้าไปอยู่ในมุมมืดอับ”) ต่อมา ในบทกวีชื่อ “บทเพลงของสิเมโอน” (A Song for Simeon) ผู้ประพันธ์กล่าวถึงชายแก่อีกคนหนึ่ง ผู้ซึ่ง “รักษาความเชื่อและว่องไว ทั้งยังจัดเตรียมหาให้คนจน” ผู้ซึ่งพูดได้ว่า “ไม่มีใครที่ถูกปฏิเสธออกไปจากประตูของฉัน” แต่แม้แต่ชายแก่คนนี้ ก็ “มีเวลาแปดสิบปีและไม่มีวันพรุ่งนี้” และแม้ว่าจะได้อุ้มพระผู้ช่วยให้รอดในวัยทารกในมือ ยังกล่าวอย่างเหนื่อยอ่อนว่า “ข้า ฯ เหนื่อยกับชีวิตของข้า ฯ เอง และชีวิตของผู้คนที่มาทีหลังข้า ฯ ..... ข้า ฯ กำลังจะสิ้นในความตายของข้า ฯ เองและความตายของพวกที่มาทีหลังข้า.............ขอให้ผู้รับใช้ของท่านจากไปเถิด...... เมื่อได้เห็นการช่วยให้รอดของพระองค์แล้ว” ในขณะที่มีการก้าวไปทีละขั้นในที่นี้ จากคำพูดโผงผางของคน ๆ เดียวใน “Gerontion” ไปยังการสนทนาโดยนัยของวิญญาณ กับพระเจ้าใน “A Song for Simeon” ซีโมน แสดงออกถึงความเหนื่อยหน่ายในชีวิต ในขณะที่เขามองเห็นความหวังสำหรับโลกในทารกที่เขาเพิ่งอวยพรไป ดูเหมือนว่า เขาไม่มีความหวังส่วนตัว นอกจากความสงบสุขที่ร้องขอในขณะที่เขารอ และแม้กระทั่งสวมกอดความตายอยู่ ประสบการณ์ที่มากขึ้นในการแปลงของ T. S. Eliot ทำให้เราได้ยินเขากล่าว ด้วยความมั่นใจที่ขาดไปในตอนแรกว่า
ขณะที่เราแก่ตัวลง โลกกลายเป็นคนแปลกหน้า รูปแบบซับซ้อนมากขึ้น เรื่องการตายและการอยู่ ไม่มีชั่วขณะที่เข้มข้น โดดเดี่ยว โดยไม่มีก่อนหน้าและภายหลัง มีแต่ชั่วชีวิตที่เผาไหม้ไปในทุกขณะ...........................
ความรัก ส่วนใหญ่เกือบเป็นตัวเอง เมื่ออะไรต่าง ๆ เริ่มไม่สำคัญอีกต่อไป ชายชราความเป็นนักสำรวจ ไม่ว่าจะเป็นที่นี่ หรือ ที่นั่น เราจะต้องสงบ และยังคงเคลื่อนที่เข้าสู่ความเข้มข้นอีกแบบ เพื่อการรวมตัวต่อไปภายหน้า และความสนิทสนมที่ล้ำลึกยิ่งขึ้น..............................
จุดจบของฉัน คือจุดเริ่มต้นของฉัน
เลนส์ด้านพระคัมภีร์และศาสนศาสตร์สำหรับการค้นคว้าต่อไป
ไม่ว่าจะผ่านทาง คำเทศนาหรือการเปรียบเทียบ เรื่องเล่าหรือบทกวี เราจำเป็นต้องได้ยินเสียงที่จัดรวมบางอย่างที่สูญหายไปกลับคืนมาอีก นั่นคือ ความหมาย ความสง่างาม ความโดดเด่น ชีวิตที่อาศัยอยู่ในชุมชน ร่างแผนความท้าทายและการเปลี่ยนแปลง ที่เราอาจคาดหวังได้ เพื่อที่เราจะได้ไม่ทำให้ผู้สูงวัยในแวดวงและชุมชนของเราสูญเปล่าไป หรือความสูงวัยของเราเอง ท่ามกลางสิ่งละอันพันละน้อย และวิวัฒนาการด้านยาที่เกินพอ จะไม่ถูกเหวี่ยงไปมาในวัฒนธรรมของเรา ต่อไปนี้เป็นวิธีการบางอย่างที่เราอาจหล่อหลอม “มุมมองใหม่” นี้ ต่อความสูงวัย (ทั้งหมดจะต้องมีการคิดคำนึงและการพัฒนาต่อไปอีกมาก)
ในฐานะที่เป็นสิทธิพิเศษที่พระเจ้าทรงจัดไว้ให้: ไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้ไปถึงที่นั่น และผู้ที่ไปถึงควรขอบคุณสำหรับความสูงวัย อย่างที่ข้าพเจ้าได้ยินหญิงวัยเก้าสิบสี่ปีคนหนึ่งทำในที่ประชุมของหมู่ผู้เชื่อในชนบทเล็ก ๆ แห่งหนึ่งเมื่อสองสามสัปดาห์ก่อน (เธอกล่าวต่อ ด้วยเสียงหัวเราะกิ๊กเล็ก ๆ ว่า “คิดว่า ฉันคงพูดอย่างนั้นได้นะ ฉันเป็นคนที่แก่ที่สุดในที่นี่”)
ในฐานะที่เป็นช่วงเวลาแห่งการท้าทายที่สำคัญ: คำอุปมาพื้นฐานด้านพระคัมภีร์สองเรื่องสำหรับชีวิตคริสเตียนยังใช้ได้ นั่นคือ ผู้สูงวัยเป็น “ผู้เดินเท้า” และ ยังเป็น “ผู้สู้ศึก” ด้วย (ให้ดู 1 เปโตร 2: 11) มีความบาปและการทดลองที่เข้มข้นขึ้นตามวัยที่สูงขึ้น และเรื่องเหล่านี้จำเป็นต้องรู้ไว้และหลีกเลี่ยง แต่ก็มีโอกาสสำหรับการเติบโตฝ่ายจิตวิญญาณ ที่อาจระบุได้และสนับสนุนด้วย
ในฐานะที่เป็นเวลาแห่งความตระหนักและความหวัง: แน่นอนว่า มี “ความหวังที่ได้รับพระพร” ของการได้อยู่ “กับพระคริสต์ ซึ่งดียิ่งกว่ามาก” ในที่สุด แต่ก็มีความหวังของการก้าวเข้าไปในชีวิตนี้ สู่ช่วงเวลาแห่ง “การพัก” อย่างมากมาย ในการรวมตัวติดสนิทอย่างลึกซึ้งกับพระคริสต์
ในฐานะที่เป็นเวลาที่จะอยู่ในชุมชน: ผู้สูงวัยต้องการที่จะพันเกี่ยวเข้าไปในชุมชน หรือให้ชุมชนเข้ามาพันเกี่ยวรอบ ๆ ตัว มากยิ่งกว่าการถูกตัดขาดจากชุมชนด้วยความเจ็บป่วย ภาพในพระคัมภีร์ของวัฒนธรรมที่มีประสบการณ์แห่งความสงบ เป็นชุมชนของผู้ต่างวัย (ให้ดู เศคาริยาห์ 8: 3 – 5 และ เยระมีห์ 31: 11 – 13)
ในฐานะที่เป็นช่วงเวลาแห่งการขึ้นครอง: เราอาจพิจารณาการสูญเสียและการทุกข์ทรมานของผู้สูงวัยในบริบทฝ่ายจิตวิญญาณ ไม่ใช่ว่าเราจะไม่หาทางบรรเทาให้ แต่เราเข้าใจว่า เราอาจมอบ ความเหงา ความโดดเดี่ยว และ ความเงียบ พร้อมทั้งความเจ็บปวด การสูญเสีย และความอับอาย เป็นคำอธิษฐานอย่างหนึ่ง ในการเข้าสู่ความรักเมตตาของพระคริสต์ คำถามที่ถามกันมากในคริสตจักรของข้าพเจ้าในวัยเด็กคือ “คุณคิดว่าคริสเตียนจะต้องผ่านความยากลำบากไหม” คำตอบของข้าพเจ้าขณะนี้ เมื่อได้เฝ้าดูพ่อแม่ทนทุกข์ผ่านช่วงเวลาในวัยบั้นปลาย คือ “ใช่ ถ้ามีชีวิตอยู่นานพอ” ในการเสื่อมถอยตามธรรมชาติของความสูงวัย หลายคนจะผ่าน “ความยากลำบากอย่างใหญ่หลวง” ก่อนที่จะข้ามไปสู่การทรงสถิตอยู่ขององค์พระผู้เป็นเจ้าที่เขารัก หรือ ตามการกล่าวแบบวาระสุดท้ายว่า ก่อนที่พระเยซูจะทรงทำให้สำเร็จลุล่วงตามพระสัญญา “เราจะกลับมาอีก รับท่านไปอยู่กับเรา เพื่อว่าเราอยู่ที่ไหน ท่านทั้งหลายจะได้อยู่ที่นั่นด้วย” (ยอห์น 14: 3)
บทสรุป
หลังจากพิจารณาคร่าว ๆ เกี่ยวกับการสูงวัย ผ่านเลนซ์ด้านวรรณกรรมและพระคัมภีร์บ้างแล้ว คำถามที่เหลืออยู่นั้นค่อนข้างง่าย นั่นคือ เราจะมีชีวิตอยู่อย่างไร ในความสูงวัยที่ขยายออกไป อาจจะด้วยความแข็งแรงและสุขภาพที่ดีขึ้น สำหรับเราหลายคน เราจะมีความกล้าหาญที่จะยอมรับการท้าทายของ T. S. Eliot ที่จะเป็นนักสำรวจ ที่ก้าวต่อไป เข้าสู่ความใกล้ชิดสนิทที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นกับพระคริสต์ในขณะที่เราแก่ตัวลง ด้วยการพิจารณาที่เราเปิดประเด็นไว้ในบทความนี้ เพื่อนำให้เราคิดเกี่ยวกับวัย นั่นคือ ความสูงวัยของเราเองและของคนอื่น เราอาจบอกกันและกันว่า “จงกล้าหาญ มุ่งหน้าต่อไป และเมื่อร่างกาย หรือ จิตใจของคุณใช้การไม่ได้ ก็ขอให้รู้ว่า คุณจะยังคงเป็นที่รู้จัก รัก มีเพื่อน และ ได้รับพระพร จงพักผ่อน ในความรู้ที่แน่วแน่ว่า จุดประสงค์ที่เราแต่ละคน ซึ่งได้รับการไถ่และทรงสร้าง จะสำเร็จลุล่วง และขอให้รู้ว่า เราเป็นขององค์พระผู้เป็นเจ้าทั้งในขณะที่มีชีวิต และในความตาย .